บทย่อ
- การจัดสรรสินทรัพย์ คือการจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ต่างๆเพื่อให้เกิดผลตอบแทนสูงสุดและเหมาะสมกับแต่ละบุคคล
- สินทรัพย์แต่ประเภทมีตราสารหนี้ ตราสารทุน สินทรัพย์ทางเลือก ซึ่งมีลักษณะต่างๆกันทั้งความเสี่ยง ผลตอบแทน และระยะเวลาในการลงทุน
- กลยุทธ์ของการจัดสรรสินทรัพย์มีหลากหลาย โดยกลยุทธ์ที่เป็นที่นิยมนั้นคือการใช้ทั้งกลยุทธ์SAA และ TAA ไปด้วยกัน
- Portfolio จากการจัดสรรสินทรัพย์แต่ละแบบจะมีความเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่ต่างกันไปตามลักษณะของนักลงทุน ตั้งแต่ความเสี่ยงที่ต่ำมากไปจนถึงเสี่ยงสูงมาก
บทความนี้จะพานักลงทุนไปรู้จักกับการจัดสรรสินทรัพย์เพื่อการลงทุน Asset Allocation ฉบับสมบูรณ์ ตั้งแต่การเข้าใจสินทรัพย์ประเภทต่างๆ มีอะไรบ้าง แต่ละประเภทมีความเสี่ยงและผลตอบแทนอย่างไร อะไรที่ส่งผลต่อ Asset Allocation กลยุทธ์ Asset Allocation ยอดนิยมมีอะไรบ้าง เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน พร้อมกับตัวอย่างของพอร์ตการลงทุนที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
Asset Allocation (การจัดสรรสินทรัพย์) คืออะไร
การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) คือ กลยุทธ์การลงทุนที่กระจายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เป็นเครื่องมือที่ช่วยการกระจายความเสี่ยง(Diversification)ที่เป็นแนวคิดพื้นฐานในด้านการเงินและการลงทุน เช่น การลงทุนใน หุ้น ตราสารหนี้ เงินฝาก ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับตัวนักลงทุนเอง เป้าหมายหลักคือเพื่อลดความเสี่ยง ลดความผันผวน เพื่อเพิ่มผลตอบแทน
ทำไมต้องจัดสรรสินทรัพย์แบบกระจายความเสี่ยง (Asset allocation and Diversification)
สินทรัพย์แต่ละประเภทมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงเวลาที่ต่างกัน สิ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตคือจากจัดการสัดส่วนการลงทุนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงและระยะเวลาที่ต้องการลงทุนของแต่ละบุคคล ซึ่งการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำมักจะให้ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งมักเป็นการลงทุนที่ปลอดภัย เช่น บัญชีออมทรัพย์หรือพันธบัตรรัฐบาล การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งรวมถึงหุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือสินค้าโภคภัณฑ์
จากกราฟนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงและผลตอบแทน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น ต้องยอมรับความเสี่ยงที่สูงขึ้นโดยการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ นักลงทุนสามารถจัดการความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนตามความเสี่ยงได้ พูดง่ายๆก็คือแทนที่จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียวควรลงทุนหลายสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน เพราะถ้าสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งมีมูลค่าลดลง พอร์ตการลงทุนโดยรวมก็จะไม่เสียหายทั้งหมด นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ต้องมีAsset allocation
การกระจายความเสี่ยงคือการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่มีความสัมพันธ์กัน
การกระจายความเสี่ยงคือการลงทุนในหลายสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์ต่ำหรือไม่มีความสัมพันธ์กันเลย ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยง เมื่อเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อสินทรัพย์หนึ่ง สินทรัพย์อื่นๆ ในพอร์ตการลงทุนจะไม่ได้รับผลกระทบ เรียกอย่างนึงว่าการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กันน้อย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงโดยลดความผันผวนในพอร์ตการลงทุนได้
ประเภท และแนวทางการลงทุนของแต่ละสินทรัพย์
ก่อนที่จะเริ่มการจัดสรรสินทรัพย์ สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจประเภทและลักษณะของสินทรัพย์ต่างๆ โดยสินทรัพย์ในการลงทุนหลักๆคือ เงินสด หุ้น ตราสารหนี้ รวมไปถึง ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ และ สินทรัพย์ดิจิตอล
เงินสด มีสภาพคล่องสูงที่สุด สามารถนำมาใช้จ่ายได้ทันที ข้อเสียของการถือเงินสดคือ มูลค่าของเงินสดจะลดลงจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำ ทำให้มูลค่าเงินสดลดลง
ตราสารทุน (หุ้น) มีฐานะเป็นเจ้าของกิจการ มีส่วนร่วมได้เสียกับบริษัท โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับส่วนแบ่งกำไร หรือในรูปแบบเงินปันผล รวมถึงสามารถขายหุ้นเพื่อทำกำไรเมื่อราคาหุ้นขึ้น ซึ่งตราสารทุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) มีสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลแน่นอนและสูงกว่าหุ้นสามัญ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ความเสี่ยงต่ำกว่า เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรายได้ที่มั่นคงและสูงขึ้น
- หุ้นสามัญ (Common Stock)มีส่วนได้เสียในสินทรัพย์ รายได้ กำไร และมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ความเสี่ยงสูงกว่าเนื่องจากเงินปันผลไม่รับประกันและราคาหุ้นผันผวนสูง ผลตอบแทนระยะยาวสูงเมื่อบริษัทเติบโต ควรกระจายการลงทุนในหลายบริษัทและหลายอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยง
ตราสารหนี้ Fixed Income (Bond) เป็นตราสารที่ออกโดยภาครัฐหรือภาคเอกชน เพื่อระดมทุนและให้ผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยและเงินต้นเมื่อครบกำหนด (maturity) โดยมีผู้ออกอยู่ 2 กลุ่มหลัก
- ตราสารหนี้ภาครัฐบาล (พันธบัตรรัฐบาล) มีความน่าเชื่อถือสูงจากภาครัฐ โอกาสที่จะไม่ได้ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนต่ำ เพราะผลตอบแทนที่แน่นอนมากๆ
- ตราสารหนี้ภาคเอกชน เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทเอกชน มีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ภาครัฐ เพราะมีโอกาสที่บริษัทผู้ออกตราสารจะผิดนัดชำระหนี้ หรือเมื่อถึงเวลาครบกำหนดแล้วไม่ได้ผลตอบแทน โดยจะมีการจัดอันดับตราสารหนี้ประเภทนี้ ตามอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ตั้งแต่ AAA ที่เป็นกลุ่มน่าลงทุนซึ่งมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ก็ยิ่งต่ำ ไปจนถึง D ที่มีความเสี่ยงมากๆ
สินทรัพย์ทางเลือก การลงทุนแบบอื่นๆยังมีให้เลือกหลากหลายไม่ว่าจะเป็น Real estate (อสังหาริมทรัพย์) Digital assets, Commodities และ Cryptocurrencies (สินทรัพย์ ดิจิทัล) ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้มีการลงทุนเหมือน หุ้น ตราสารหนี้ โดยสินทรัพย์ทางเลือกที่ลงทุนในปัจจุบัน เช่น ทองคำ น้ำมัน อสังหาริมทรัพย์ หุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาด หรือสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น ซึ่งสินทรัพย์ทางเลือกก็เป็นตัวช่วยกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนทางเลือกให้กับพอร์ต แต่สินทรัพย์ทางเลือกมีการลงทุนเฉพาะตัวต้องศึกษาให้มากพอ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดสรรสินทรัพย์
การกำหนดสัดส่วนของสินทรัพย์ที่เหมาะสมสำหรับพอร์ตการลงทุนของคุณนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล เมื่อนักลงทุนตัดสินใจลงทุน ปัจจัยต่างๆ เช่น เป้าหมายทางการเงิน ความยอมรับความเสี่ยง และระยะเวลาการลงทุน ล้วนส่งผลต่อการจัดสรรสินทรัพย์ ลองมาทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้กัน
- ระยะเวลาการลงทุน จำนวนเดือนหรือปีที่คาดว่าจะลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่หวังไว้ ระยะเวลาการลงทุนที่ต่างกัน ส่งผลต่อระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เช่น นักลงทุนที่มีระยะเวลาการลงทุนระยะยาว สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงได้ เนื่องจากเศรษฐกิจมีวัฏจักร และภาวะตลาดผันผวน แต่ความผันผวนเหล่านี้มักจะคลี่คลายไปตามระยะเวลา
- ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ความสามารถของนักลงทุนที่จะยอมเงินลงทุนบางส่วน หรือทั้งหมด เพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น นักลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูง ก็เสี่ยงเงินทุนส่วนใหญ่เพื่อหวังผลตอบแทนที่ดี ในทางกลับกัน นักลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงต่ำ หรือผู้ที่ไม่ชอบความเสี่ยง มักจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่ช่วยรักษาเงินต้นเอาไว้
- ความเสี่ยงกับผลตอบแทน ในโลกของการลงทุน ความเสี่ยงกับผลตอบแทน เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันเสมอ คำกล่าวที่ว่า “ไม่มีความเสี่ยง ย่อมไม่มีผลตอบแทน” อธิบายคำว่าความเสี่ยงกับผลตอบแทนได้เป็นอย่างดี การลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยงแฝงอยู่ การยอมรับความเสี่ยงที่มากขึ้น ก็หมายถึงโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเช่นกัน
กลยุทธ์การจัดการทรัพย์สิน Asset allocation strategies
กลยุธและแนวทางจัดการสินทรัพย์นั้นสำคัญมาก เพราะในปัจจุบัน นักลงทุนมีตัวเลือกสินทรัพย์ที่หลากหลาย การเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น เป้าหมายการลงทุน ระยะเวลาการลงทุน ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และความรู้ ประสบการณ์ ของนักลงทุน
กลยุทธ์ที่ 1 การกระจายสินทรัพย์การลงทุนโดยเน้นสินทรัพย์ที่หลากหลาย (SAA: Strategic Asset Allocation)
เป็นการกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท เช่น หุ้น ตราสารหนี้ ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่ดี
- ข้อดี: ลดความเสี่ยงจากการพึ่งสินทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง และเป็นการสร้างพอร์ตลงทุนที่มั่นคง
- ข้อเสีย: โอกาสรับผลตอบแทนสูงจากสินทรัพย์บางประเภทอาจจะน้อย
- เหมาะสำหรับ: นักลงทุนที่เน้นความมั่นคง ต้องการความเสี่ยงต่ำ และมีเป้าหมายระยะยาว
กลยุทธ์ที่ 2 เน้นการคงสัดส่วนการจัดสรรเงินลงทุน (Constant-Weighting Asset Allocation) คือการปรับสัดส่วนการลงทุนให้กลับมาสู่สัดส่วนที่กำหนดไว้เมื่อมูลค่าสินทรัพย์เปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาสมดุลของพอร์ต
- ข้อดี: ช่วยให้พอร์ตลงทุนตรงกับความต้องการแรก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากการ overweight หรือ underweight
- ข้อเสีย: อาจต้องปรับพอร์ตบ่อย และโอกาสรับผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่มีราคาผันผวน
- เหมาะสำหรับ: เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาในการติดตามข้อมูลและต้องการลงทุนระยะยาว และต้องการรักษาสมดุลของพอร์ต
กลยุทธ์ที่ 3 เน้นการจัดสรรเงินลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์จริง (TAA: Tactical Asset Allocation) ปรับสัดส่วนการลงทุนตามสภาวะตลาดและเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในแต่ละช่วงเวลา เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการลงทุน เพื่อรักษาระดับความเสี่ยงและผลตอบแทนให้เหมาะสม
- ข้อดี: ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนสูง
- ข้อเสีย: ต้องติดตามข้อมูล วิเคราะห์ และปรับพอร์ตบ่อย เสี่ยงต่อการตัดสินใจด้วยอารมณ์
- เหมาะสำหรับ: นักลงทุนระยะสั้นจะเหมาะสมกว่า นักลงทุนที่มีประสบการณ์ ติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด และรับความเสี่ยงได้สูง
กลยุทธ์ที่ 4 การกระจายการลงทุนแบบไดนามิกที่พร้อมปรับตัวอยู่เสมอ (Dynamic Asset Allocation)
กลยุทธ์นี้ปรับเปลี่ยนการลงทุนตามการขึ้นลงของตลาดหรือภาวะเศรษฐกิจโดยรวม โดยพิจารณาการลงทุนในแต่ละประเภทสินทรัพย์มากกว่าการกำหนดสัดส่วนคงที่ เน้นผลตอบแทน โดยไม่กำหนดสัดส่วนหรือระยะเวลาตายตัว
- ข้อดี: โอกาสรับผลตอบแทนสูง ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์
- ข้อเสีย: เสี่ยงสูง ต้องมีประสบการณ์ ติดตามข้อมูล วิเคราะห์ และตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
- เหมาะสำหรับ: ผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูงและมีประสบการณ์ในการลงทุน เน้นผลตอบแทนเป็นหลัก
กลยุทธ์ที่ 5 การจัดสรรเงินลงทุนแบบมีประกัน (Insured Asset Allocation)
เน้นการกำหนดผลตอบแทนขั้นต่ำและพยายามให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด โดยมีการปรับแผนการลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทนเน้นความมั่นคง กำหนดผลตอบแทนขั้นต่ำ ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ
- ข้อดี: มีความแน่นอนและมั่นคง รับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำ
- ข้อเสีย: ผลตอบแทนอาจไม่สูง ความยืดหยุ่นต่ำ อาจให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่ากลยุทธ์อื่นๆเพราะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการซื้อประกัน
- เหมาะสำหรับ: เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง
กลยุทธ์ที่ 6 การจัดสรรเงินลงทุนแบบบูรณาการ (Integrated Asset Allocation)
เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ครอบคลุม เน้นการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยมหภาค จุลภาค ความเสี่ยง เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายประเภท ที่เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน
- ข้อดี: ช่วยให้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามความต้องการของนักลงทุนเอง
- ข้อเสีย: มีความซับซ้อน เพราะต้องพิจารณาหลากหลายปัจจัย
- เหมาะสำหรับ: ผู้ที่มีประสบการณ์ในการลงทุนและสามารถประเมินแนวโน้มการลงทุนได้ในทุกระยะ
การใช้กลยุทธ์ SAA และ TAA ร่วมกัน เป็นที่นิยมและสามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระยะสั้นและยาว
Strategic Asset Allocation (SAA) เป็นกลยุทธ์การลงทุนระยะยาว จะการกระจายเงินลงทุนไปยังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ในระดับความเสี่ยงที่นักลงทุนรับได้ ในขณะที่ Tactical Asset Allocation (TAA) เน้นการลงทุนระยะสั้น เน้นการปรับสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ตามสภาวะตลาด เพื่อโอกาสที่จะรับผลตอบแทนที่สูง การนำกลยุทธ์2ตัวนี้มารวมกันจะช่วยให้การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ให้ผลตอบแทนที่สูง
จะเห็นได้ว่าใช้กลยุทธ์ SAA โดยกระจายการลงทุนไปหลายสินทรัพย์ และใช้กลยุทธ์TAA เพื่อปรับพอร์ต(Rebalance)ตามสถานการณ์ ช่วงที่ตลาดหุ้นขาขึ้นจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเป็น 50% ลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เหลือ 35% แต่หากช่วงที่ตลาดหุ้นขาลงจะลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นเหลือ 30% และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้เป็น 55%
การทำ Asset Allocation ใน Portfolio การลงทุนในรูปแบบต่างๆ
การจัดสรรสินทรัพย์ในPortfolio เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การลงทุนมีประสิทธิภาพและป้องกันความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด โดยการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและสูงเข้าด้วยกัน เช่น เงินสด, หุ้น, และตราสารหนี้ เพื่อให้ Portfolio มีความสมดุล บางคนหรือบริษัทการลงทุนจะสร้างPortfolio การลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่แต่ละบุคคลต้องการ ตั้งแต่ Portfolio ที่เน้นความเสี่ยงต่ำถึงความเสี่ยงสูง โดยรูปแบบ Portfolio การลงทุนมีดังนี้
แบบอนุรักษ์นิยม หรือแบบระมัดระวัง (Conservative Portfolio) : ลงทุนไปยังหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ และเงินฝาก เป็นสัดส่วนมาก ต้องการหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นโดยสิ้นเชิง การลงทุนในหุ้นบ้างเล็กน้อย โดยการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพสูงหรือกองทุนดัชนี
พอร์ตการลงทุนแบบอนุรักษ์นิยมปานกลาง (Moderately Conservative Portfolio): เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรักษาเงินทุนเป็นหลัก แต่ก็ยอมรับความเสี่ยงบ้างเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ กลยุทธ์ที่นิยมใช้กับการลงทุนในสินทรัพย์ที่จ่ายเงินปันผลหรือดอกเบี้ยสูง เช่น หุ้นปันผล ตราสารหนี้
แบบผสมผสาน หรือ ปานกลาง (Moderately Aggressive Portfolio): สัดส่วนของสินทรัพย์ถูกแบ่งเกือบเท่าๆ กันระหว่างตราสารหนี้และหุ้น เป็นการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตของเงินทุนและการได้รับรายได้ กลยุทธ์นี้จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีระยะเวลาการลงทุนยาวนาน และสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ระดับปานกลาง
แบบเสี่ยงสูง หรือเชิงรุก (Aggressive Portfolio): ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยหุ้น ดังนั้นมูลค่าของพอร์ตจึงมีความผันผวนมาก เหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีความพร้อมที่จะรับความเสี่ยงสูงเพื่อการเติบโตของเงินทุนในระยะยาว มีการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง
แบบเสี่ยงสูงมาก (Very Aggressive Portfolio): ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยหุ้นเกือบทั้งหมด เป้าหมายคือการสร้างการเติบโตของเงินทุนอย่างมากในระยะยาว เนื่องจากพอร์ตประเภทนี้มีความเสี่ยงสูง มูลค่าของพอร์ตจึงมีความผันผวนมากในระยะสั้น
ตัวอย่างการจัดการสินทรัพย์ Wallen buffet
กลยุทธ์การลงทุนแบบวอร์เรน บัฟเฟตต์ ถือว่าเป็นการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investing) มุ่งเน้นไปที่การค้นหาหุ้นที่ซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง และถือครองไว้ในระยะยาวโดยไม่คำนึงถึงความผันผวนของตลาดระยะสั้น พอร์ตการลงทุนแบบวอร์เรน บัฟเฟตต์ โดยทั่วไปจะมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นสูง ประมาณ90% ที่เหลืออาจลงทุนในตราสารหนี้หรือสินทรัพย์อื่นๆ ถือว่าจัดอยู่ใน Very Aggressive หรือ portfolio เชิงรุกมากๆ ซึ่งสไตล์การลงทุนที่เน้นไปที่หุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯและลงทุนในระยะยาวของในการลงทุน
สรุป
- การจัดสรรสินทรัพย์เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญ ช่วยให้นักลงทุนบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สินทรัพย์แต่ละประเภทมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงเวลาที่ต่างกัน การกระจายความเสี่ยงจึงต้องจำเป็นมาก
- เงินสด มีสภาพคล่องสูงสุด แต่มีผลตอบแทนต่ำตราสารทุน (หุ้น) มีความเสี่ยงสูงแต่ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง ตราสารหนี้ (พันธบัตร) มีความเสี่ยงต่ำ แต่มีผลตอบแทนต่ำ
- ความเสี่ยงที่ยอมรับของแต่ละบุคคล Styleการใช้ชีวิต จะสามารถกำหนดกลยุทธ์และรูปแบบPortfolioที่เหมาะสมได้
- Wallen buffet เป็นหนึ่งตัวอย่างของการจัดการสินทรัพย์เชิงรุกมากๆ ที่ลงลงทุนในระยะยาวและผลตอบแทนสูงมากๆ
Reference
- https://www.optimizedportfolio.com/warren-buffett-portfolio/
- https://proactiveportfolios.com.au/about/asset-allocation/
- https://www.investopedia.com/investing/6-asset-allocation-strategies-work/
- https://www.cambridgeassociates.com/wp-content/uploads/2014/03/The-Risk-Allocation-Framework.pdf
- https://www.litefinance.org/th/blog/for-investors/stock-trading/types-of-stocks/
- https://www.longtunman.com/35359
- https://www.investopedia.com/terms/a/assetallocation.asp#:~:text=Asset%20allocation%20is%20how%20investors%20split%20up%20their%20portfolios%20among,will%20behave%20differently%20over%20time.
- https://www.investopedia.com/managing-wealth/achieve-optimal-asset-allocation/
- https://www.settrade.com/th/news-and-articles/articles/76-cfp-why-asset-allocation
- https://www.finnomena.com/dekfinance/saa-taa/
- https://www.researchoptimus.com/blog/6-asset-allocation-strategies-for-successful-portfolio-management/
- https://www.forbes.com/advisor/investing/what-is-asset-allocation/