Conference Board Consumer Confidence Index (CCI)

U.S. Consumer Confidence Index (CCI) หรือดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกานั้นเป็นตัวชี้วัดถึงมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ รวมไปถึงสถานการณ์ทางการเงินของตัวผู้บริโภคเองด้วยเช่นกัน

ทุกเดือนจะมีการสำรวจ CCI โดยใช้คำถามประมาณ 50 ข้อที่บ่งบอกถึงทัศนคติของผู้บริโภคต่อสภาพธุรกิจ สถานภาพการจ้างงานทั้งในปัจจุบัน ในอนาคต และรายได้รวมของครัวเรือนในช่วง 6 เดือนข้างหน้านี้ด้วย

  • รายงานนี้ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลกลาง และยังอาจเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดนโยบายทางการเงินของสหรัฐอเมริกา
  • การสำรวจผู้บริโภค 5,000 ครัวเรือนจะเป็นการถามพวกเขาว่ารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันและวิธีการใช้จ่ายของพวกเขา
  • มีการถามถึงความมั่นใจของพวกเขาในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง ซึ่งจะแบ่งออกมาเป็นความรู้สึกในปัจจุบันและความคาดหวังสำหรับเดือนถัด ๆ ไป

วิธีการอ่านรายงาน

  • ตัวเลขที่แสดงผลระดับมาตรฐานจะอยู่ที่ 100
  • ตัวเลขที่ต่ำกว่า 75 จะถือว่าไม่ดี
  • ตัวเลขที่มากกว่า 125 จะถือว่าดี

ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูง ๆ จะช่วยกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันตัวเลขที่แสดงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในระดับต่ำก็อาจจะชักนำให้เกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจได้

อัตราความเชื่อมั่นที่ลดลงอย่างรวดเร็วจะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจกำลังอ่อนแอลง และความสัมพันธ์ระหว่างการใช้จ่ายและตัวเลขความเชื่อมั่นก็เป็นตัวบ่งชี้ได้อีกเล็กน้อย โดยตัวเลขดัชนีที่เปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 5 จุดจึงจะนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

หมายเหตุ : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างใหม่ ๆ ทุกเดือน รายงานนี้จึงมีความผันผวนมากกว่ารายงานของมหาวิทยาลัยมิชิแกนซึ่งจะสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเดิมเป็นจำนวนมากในทุกเดือน

สามารถหารายงานสำรวจ CCI ได้จากที่ไหน ?

รายงานการสำรวจ CCI นั้นเป็นบริการแบบสมัครสมาชิก โดยอาจจะค้นหาใน Google ด้วยคำว่า “Consumer confidence” ดูก็ได้

การสำรวจ CCI สำคัญอย่างไร ?

การสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคนับว่าเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญเกี่ยวกับภาพรวมของเศรษฐกิจ ถ้าผู้บริโภครู้สึกถึงความมั่นคงของรายได้ ก็จะมีผลต่อการใช้จ่ายและการออมเงินของพวกเขาด้วยเช่นกัน

นักลงทุนในตลาดสหรัฐฯ มักจะกังวลกับกลุ่มผู้บริโภคที่มองโลกในแง่ร้าย เพราะสิ่งนั้นจะเพิ่มความน่าจะเป็นที่อัตราดอกเบี้ยจะลดลง เศรษฐกิจมีโอกาสที่จะอ่อนตัวลง ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้ล้วนเป็นภัยต่อมูลค่าของเงินดอลลาร์ทั้งสิ้น หากเป็นเช่นนั้นเหล่านักลงทุนอาจเริ่มขายเงินดอลลาร์และมองหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากตลาดแห่งอื่นแทน

ในขณะที่ผู้บริโภคที่มองโลกในแง่ดีจะมีความสามารถเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้ ตลาดหุ้นก็จะไปสู่ระดับที่ให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งก็จะส่งผลต่อความต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

พื้นหลัง:

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะเป็นตัวบ่งบอกว่าผู้บริโภคนั้นรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจ หน้าที่การงาน และการจับจ่ายใช้สอย

ผู้บริโภคที่มีความสุขมีแนวโน้มที่จะใช้จ่าย ท่องเที่ยว และเป็นผู้ทำให้เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ส่วนผู้บริโภคที่ไม่มีความสุขก็มักจะสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นหลักทำให้มีผลเสียต่อเศรษฐกิจ

แหล่งที่มา:

จัดทำโดยคณะกรรมการการประชุม

การเผยแพร่:

รายงานการสำรวจจะถูกเผยแพร่เวลา 10.00 น. EST (เวลาตะวันตก) ในวันอังคารสุดท้ายของเดือนที่ทำการสำรวจ

ความถี่:

รายเดือน

การแก้ไข:

รายงานอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมเล็กน้อยหากมีการรวบรวมและประมวลผลการสำรวจมากขึ้น

เพิ่มเติม:

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคหรือ CCI นั้นเป็นรายงานผลการสำรวจรายเดือนที่ออกโดยองค์กรวิจัยเศรษฐกิจอิสระที่เรียกกันว่า The Conference Board ซึ่งจะเป็นการเก็บข้อมูลเชิงสถิติจากประชากร 5,000 ครัวเรือน ผลลัพธ์ที่ได้ก็ถือว่ามีความแม่นยำว่าประชาชนทั่วไปมีมุมมองต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในเดือนนั้นอย่างไร รวมถึงยังมีการคำนวณโฆษณาเกี่ยวกับการจ้างงานในท้องถิ่นเพื่อสำรวจตลาดการจ้างงานด้วย

การสำรวจนี้จะบ่งบอกถึงองค์ประกอบการบริโภคของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งทางธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรึกษากับ CCI ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย และ CCI ก็ยังมีอำนาจที่อาจส่งผลต่อราคาในตลาดหลักทรัพย์ด้วยเช่นกัน

ตั้งแต่เริ่มต้นการจัดทำดัชนีในปี 1985 ระดับความเชื่อมั่นพื้นฐานของ CCI จะกำหนดค่ากลางเอาไว้ที่ 100 เมื่อใดก็ตามที่ระดับความเชื่อมั่นมีต่ำกว่า 100 ติดต่อกัน 2 ไตรมาสขึ้นไปก็จะมีการประกาศภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมา

ข้อมูลต่าง ๆ ใน CCI จะมีความเป็นปัจจุบัน และถือว่าเป็นตัวพยากรณ์ความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นเพียงการสำรวจแผนการใช้จ่ายเท่านั้น ไม่ได้มีชุดข้อมูลจริงที่เป็นตัวเลขอย่างละเอียดทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า CCI ก็ไม่สามารถพยากรณ์อนาคตได้แม่นยำ 100% นั่นเอง