Forex Broker King ย่อให้

  • FVG เกิดจากช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง เช่น การประกาศข่าวทางเศรษฐกิจ
  • โครงสร้างของ FVG มีอยู่ 3 แท่งเทียน โดยที่ไส้ของแท่งเทียนไม่เชื่อมกับแท่งกลางและเกิดเป็นช่องว่าง
  • ประเภทของ FVG สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ Bullish (ขาขึ้น) และ Bearish (ขาลง)
  • FVG สามารถใช้เทรดร่วมกับกลยุทธ์ต่างๆมากมายเช่น Order Block , Market Structure เพื่อเพิ่มความแม่นยำ
  • ไม่ใช่ทุกครั้งที่ราคาจะกลับมาที่ Gap บางครั้งราคาจะเคลื่อนที่ต่อไปโดยไม่ย้อนกลับมาเติมช่องว่าง

Fair Value Gap (FVG) คืออะไร?

  • Fair Value Gap หรือ “ช่องว่างระหว่างราคา” เป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญที่นักเทรดมืออาชีพใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของราคาในตลาด โดย FVG เกิดขึ้นจาก ภาวะไม่สมดุลของแรงซื้อ-แรงขาย ทำให้ราคาไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างรวดเร็ว จนเกิด “ช่องว่าง” ระหว่างแท่งเทียนนั่นเอง

Fair Value Gap เกิดขึ้นได้ยังไง?

Fair Value Gap จะเกิดจากช่วงที่มีความผันผวนสูง เช่น การประกาศข่าวสำคัญทางเศรษฐกิจ หรือ การที่มีการขายหรือซื้อครั้งใหญ่

Fair Value Gap มักเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ทำให้ราคาเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและทิ้งช่องว่างระหว่างแท่งเทียน ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น

  • การประกาศข่าวสำคัญทางเศรษฐกิจ
    • ข่าวเศรษฐกิจที่มีผลกระทบสูง เช่น อัตราดอกเบี้ย, ตัวเลขการจ้างงาน (NFP), GDP, CPI มักทำให้ตลาดเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
    • การเปิดออเดอร์จำนวนมากจากเทรดเดอร์รายใหญ่ ส่งผลให้เกิด GAP ระหว่างราคานั่นเอง
  • การเทขายหรือช้อนซื้อครั้งใหญ่
    • เมื่อกองทุนหรือสถาบันการเงินต้องการเข้าหรือออกจากตลาดด้วย ออเดอร์ขนาดใหญ่ ในช่วงเวลาสั้นๆ
    • การซื้อ-ขายปริมาณมหาศาลทำให้ราคาเคลื่อนที่เร็วเกินไป จนไม่มีแรงฝั่งตรงข้ามมาถ่วงดุล ส่งผลให้เกิด GAP บนกราฟนั่นเอง
  • ตลาดมีสภาพคล่องต่ำ (Low Liquidity Zones)
    • เมื่อราคาวิ่งผ่านโซนที่มีสภาพคล่องต่ำจะเกิดช่องว่างระหว่างราคา
    • ตัวอย่างที่เห็นภาพง่ายๆคือ ช่วงที่ตลาด Forex ปิด-เปิด หรือช่วงตลาดเงียบก่อนข่าวสำคัญ

โครงสร้างของ Fair Value Gap เข้าใจง่ายใน 3 แท่งเทียน

โครงสร้างของ Fair Value Gap จะเป็นรูปแบบ 3 แท่งเทียนติดกันโดยที่ไส้ของแท่งแรกและแท่งสุดท้ายจะไม่เชื่อมต่อกับแท่งกลางจึงทำให้เกิดเป็นช่องว่างหรือ “Gap” นั่นเอง

การเกิด Fair Value Gap (FVG) สามารถสังเกตได้จาก รูปแบบของแท่งเทียน 3 แท่งที่เรียงต่อกัน โดยแต่ละแท่งมีบทบาทเฉพาะที่บอกแรงซื้อและแรงขายในช่วงเวลานั้นๆ มาดูทีละแท่งกันเลยครับ

1. แท่งแรก จุดเริ่มต้นของแรงสะสม

  • เป็นแท่งเทียนที่เปิดตลาดมาก่อนช่วงที่เกิดช่องว่าง (GAP)
  • เมื่อราคาปิด ไส้เทียนของแท่งนี้จะไม่เชื่อมต่อกับแท่งกลาง โดยมีช่องว่างเกิดขึ้นอย่างชัดเจน
  • มักแสดงถึง “ช่วงพักตัว” หรือ “การสะสมแรง” ก่อนที่ตลาดจะเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง

2. แท่งกลาง ตัวการที่สร้าง GAP

  • แท่งนี้คือ “พระเอกของเรื่อง” เพราะเป็นจุดที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างราคาอย่างชัดเจน
  • ราคาพุ่งขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วแบบ Impulsive Move หรือ “พุ่งทะยาน” อย่างรุนแรง
    • เป็นผลจากแรงซื้อหรือแรงขายที่เข้ามาแบบจัดเต็ม (เช่น การเทรดของกองทุนใหญ่หรือข่าวแรง)
  • แท่งนี้จะ ลากราคาจนไม่มีโอกาสให้ฝั่งตรงข้ามเปิดออเดอร์ทัน นั่นจึงทำให้เกิด “ช่องว่าง” ระหว่างแท่งแรกและแท่งสุดท้าย

3. แท่งสุดท้าย แรงโมเมนตัมยังอยู่

  • แท่งนี้เกิดขึ้น หลังจากช่องว่างของ FVG ปรากฏแล้ว
  • ราคาของแท่งนี้จะยัง ไม่สามารถปิดช่องว่าง ที่เกิดจากแท่งกลางได้
  • แสดงให้เห็นว่าแรงซื้อหรือแรงขายยัง แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง ตลาดยังไม่พร้อมที่จะกลับทิศหรือปรับตัว
    • เป็นสัญญาณว่าเทรนด์เดิมยังคงมีพลังอยู่ และอาจเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิมต่อ

ประเภทของ FVG

Fair Value Gap จะสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆนั่นก็คือ ขาขึ้น (Bullish FVG) และ ขาลง (Bearish FVG)

1. FVG ขาขึ้น (Bullish FVG)

  • ราคาพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วและทิ้งช่องว่างไว้ ราคามักจะย่อกลับลงมาแตะช่องว่าง ที่เกิดจากแรงซื้อในช่วงก่อนหน้า
  • เมื่อราคาลงมาที่จุดนี้แล้ว แรงซื้อจะกลับเข้ามาอีกครั้ง ผลักดันให้ราคาดีดตัวขึ้นใหม่
  • นี่คือจุดที่ดีในการเข้า Buy เพราะราคาลงมาถึงโซนที่ถูก หรือก็คือ Discount Zone นั่นเองครับ
  • หลายครั้งการย่อลงนี้ช่วยให้นักเทรดสามารถ เข้าซื้อในราคาที่ได้เปรียบ ก่อนที่ตลาดจะวิ่งขึ้นต่ออย่างแข็งแกร่ง

2. FVG ขาลง (Bearish FVG)

  • ราคาลงอย่างรวดเร็วและทิ้งช่องว่างไว้ ราคามักจะดีดกลับขึ้นมาเพื่อแตะช่องว่างที่เกิดจากแรงขายก่อนหน้า
  • เมื่อราคาดีดขึ้นแล้ว แรงขายจะกลับมา ทำให้ราคาลดลงต่อเนื่อง
  • สำหรับเทรดเดอร์ที่มองหาจังหวะขาย Bearish FVG คือโอกาสดีในการ เข้า Sell
  • ราคามักจะลงต่อได้เพราะ แรงขายยังคงมีอยู่ในตลาด และในช่วงนี้นักเทรดสามารถ เปิดออร์เดอร์ Sell ได้ในราคาที่ดี

Fair Value Gap ใช้เทรดยังไงให้ได้เปรียบ?

ใช้ FVG กับ Market Structure ตาม SMC

เมื่อตลาดเกิดการ Break of Structure และมีการเกิด FVG จากนั้นรอให้ราคามาแตะโซน FVG อีกครั้งเพื่อเข้าเทรด

  • BOS (Break of Structure): คือ การที่ราคาทะลุโครงสร้างแนวรับ-แนวต้านเดิม แสดงถึงแรงซื้อหรือขายที่มีอิทธิพลสูง
  • MSS (Market Structure Shift): คือการเปลี่ยนแนวโน้ม เช่น จากขาขึ้นเป็นขาลง หรือจากขาลงเป็นขาขึ้น
  • เทรด FVG หลัง BOS หรือ MSS
    • เมื่อตลาดเกิด Break of Structure (BOS) และมี FVG ปรากฏขึ้น ราคามักกลับมาเติมเต็ม FVG ก่อนเคลื่อนที่ต่อ
    • ถ้าเป็น ขาขึ้นมองหา Bullish FVG หลัง BOS เพื่อเข้า Buy
    • ถ้าเป็น ขาลงมองหา Bearish FVG หลัง BOS เพื่อเข้า Sell

ใช้ FVG กับ Order Blocks (OB) ตามแนวคิด ICT

สามารถใช้ Order Block เพื่อเพิ่มความแม่นยำในเข้าการเทรด

  • Order Block (OB) คืออะไร?
    • Order Block เป็นโซนที่ Smart Money” หรือสถาบันการเงินเคยเข้าซื้อหรือขายจำนวนมาก
    • สามารถใช้ร่วมกับ FVG เพื่อหาจุดเข้าเทรดที่แม่นยำขึ้น
  • การเทรด OB + FVG
    • ถ้า FVG อยู่ในบริเวณ Order Block แสดงว่าจะเพิ่มโอกาสที่ราคาจะกลับมายัง FVG และเด้งกลับจาก OB
    • ดูว่าราคาอยู่ในโซน Discount หรือ Premium ก่อนเข้าเทรด

ใช้ FVG กับ Liquidity ตาม ICT

สามารถใช้ FVG เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการหาจุดกลับตัวในจุด Liquidity Pool

  • Liquidity คืออะไร?
    • Liquidity หมายถึงโซนที่มีคำสั่งซื้อ-ขายสะสมอยู่มาก เช่น จุดที่มี Stop Loss หรือ Pending Orders
    • ตลาดมักจะเคลื่อนไปแตะ Liquidity Pool ก่อนกลับตัว
  • การใช้ FVG กับ Liquidity
    • รอให้ตลาด Sweep Liquidity แล้วดูว่า FVG ใกล้กับจุดกลับตัวหรือไม่
    • การที่มี FVG + OB พร้อมกันใน Liquidity Zone จะทำให้โอกาสการกลับตัวจากจุดนั้นสูงขึ้น

ใช้ FVG กับ Premium และ Discount

ใช้ FVG เป็นจุดเข้าเทรดเมื่อถึงจุด Premium & Discount

  • Premium Zone: โซนที่ราคา สูงกว่าปกติ หรือ “แพงเกินไป” เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของตลาด
    • เมื่อราคาขึ้นไปที่ Premium Zone และเกิด FVG ขาลง (Bearish FVG) เข้า Sell
  • Discount Zone: โซนที่ราคา ต่ำกว่าปกติ หรือ “ราคาถูก” เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของตลาด
    • เมื่อราคาลงไปที่ Discount Zone และเกิด FVG ขาขึ้น (Bullish FVG) เข้า Buy

การใช้ FVG ใน Tradingview

เทรดเดอร์สามารถค้นหา Indicator ใน TradingView โดยการพิมพ์คำว่า “FVG” หรือ “Fair Value Gap”

ใน TradingView เทรดเดอร์สามารถใช้งาน Indicator ของ FVG ให้เลือกใช้งานมากมาย

  1. คลิกที่ “Indicators”
  2. พิมพ์ว่า “FVG” , “Fair Value Gap”
  3. Indicator ที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมเช่น
    • Fair Value Gap [LuxAlgo] – ผู้ใช้งาน 8.4k
    • FVG (Nephew_Sam_) – ผู้ใช้งาน 10.3k

ข้อควรระวัง

  • บางครั้งตลาดมีแรงส่งมากจนราคาวิ่งต่อไปเลย โดยไม่ย้อนกลับมาแตะ GAP
  • อาจใช้เวลานานกว่าราคาจะกลับมาเติมเต็ม GAP ทำให้เทรดเดอร์ที่ใจร้อนอาจพลาดได้
  • อย่ามอง FVG เป็นจุดที่ราคาต้องกลับมาเสมอแต่ให้ใช้เป็น “โซนที่น่าสนใจ” นั่นเอง
  • อย่าลืมวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยๆด้วยอื่น เช่น Market Structure, Order Block และ Liquidity
  • ควรตั้ง Stop Loss (SL) ไว้ในจุดที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุน
  • กำหนด Risk-to-Reward Ratio ที่สมเหตุสมผล เช่น 1:2 , 1:3
  • ใช้ Position Sizing ให้เหมาะสม อย่าเปิด Lot ขนาดใหญ่เกินไปจนกระทบพอร์ต

บทสรุปสำหรับ Fair Value Gap

FVG เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการจับจังหวะการเทรด ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับกลยุทธ์ต่างๆได้อีกด้วย การใช้ FVG ช่วยให้การตัดสินใจในการเข้าเทรดมีความแม่นยำ แต่ต้องคำนึงถึง ความเสี่ยง และ บริหารความเสี่ยงอย่างรอบคอบ เพื่อให้การเทรดมีประสิทธิภาพและลดการขาดทุน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง