Mark To Market (MTM) การปรับมูลค่าตามราคาตลาด คืออะไร?

Mark To Market (MTM) หรือ การประเมินมูลค่าตามราคาตลาด วิธีนี้จัดเป็นวิธีวัดมูลค่าที่เหมาะสมของบัญชีที่อาจผันผวนได้ตามเวลา เช่น บัญชีสินทรัพย์และหนี้สิน การประเมินมูลค่าตามราคาตลาด มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการประเมินสถานการณ์ทางการเงินปัจจุบันของสถาบัน หรือบริษัทอย่าง “สมจริง” โดยอิงจากสภาวะตลาดปัจจุบัน

ทั้งนี้การซื้อ-ขายและการลงทุนหลักทรัพย์บางประเภท เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าและกองทุนรวม ก็จะถูกประเมินมูลค่าตามราคาตลาดเช่นกัน เพื่อแสดงมูลค่าตามราคาตลาดปัจจุบัน ของการลงทุนเหล่านั้น

ทำความรู้จักกับ การกำหนดมูลค่าตามราคาตลาด หรือ Mark To Market (MTM)

การกำหนดมูลค่าตามราคาตลาด เป็นแนวทางการบัญชี ที่เกี่ยวข้องกับการปรับมูลค่าของสินทรัพย์ เพื่อสะท้อนมูลค่าตามที่กำหนดโดยสภาวะตลาดปัจจุบัน มูลค่าตลาดจะถูกกำหนดขึ้นโดยอิงจากมูลค่าที่บริษัทจะได้รับสำหรับสินทรัพย์ หากขายออกไปในช่วงเวลานั้น

เมื่อสิ้นปีงบประมาณ งบดุลของบริษัทจะต้องสะท้อนมูลค่าตลาดปัจจุบัน (CMV) ของบัญชีบางบัญชี ส่วนบัญชีอื่น ๆ จะแสดงให้เห็นถึงข้อมูลต้นทุนในอดีต ซึ่งก็คือราคาซื้อเดิมของสินทรัพย์นั่นเอง

สาระสำคัญที่เกี่ยวกับ Mark To Market (MTM)

  • วิธีประเมินมูลค่าตามราคาตลาด หรือ MTM เป็นวิธีที่สามารถแสดงตัวเลขได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นการประเมินว่าบริษัทจะได้รับสินทรัพย์ภายใต้สภาวะตลาดปัจจุบันประมาณเท่าไหร่
  • แต่ถึงแม้ MTM จะมีการประเมินที่มีความแม่นยำมากขนาดไหนก็ตาม แต่ในช่วงเวลาที่ไม่พึงประสงค์หรือมีความผันผวนเกิดขึ้น การประเมินมูลค่าตามราคาตลาด อาจไม่สามารถแสดงมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ได้อย่างถูกต้อง
  • ในการซื้อ-ขายฟิวเจอร์ส บัญชีในสัญญาฟิวเจอร์สจะถูกกำหนดมูลค่าตามราคาตลาดทุกวัน กำไรและขาดทุนจะถูกคำนวณระหว่างตำแหน่งซื้อและตำแหน่งขาย

การกำหนดมูลค่าตามราคาตลาด ในการบริการทางการเงิน

บริษัทในอุตสาหกรรมบริการทางการเงิน อาจจำเป็นต้องปรับบัญชีสินทรัพย์ ในกรณีที่ผู้กู้บางรายผิดนัดชำระเงินกู้ระหว่างปี เมื่อสินเชื่อเหล่านี้ถูกระบุว่าเป็น “หนี้สูญ” ผู้ให้กู้จะต้องปรับลดมูลค่าทรัพย์สินของตัวเองลง ให้เป็นมูลค่าที่เหมาะสม โดยใช้บัญชีสินทรัพย์ที่ตรงกันข้าม เช่น “ค่าเผื่อหนี้สูญ”

บริษัทที่เสนอส่วนลดให้กับลูกค้าเพื่อให้สามารถเรียกเก็บเงินจากบัญชีลูกหนี้ได้อย่างรวดเร็ว ก็จะต้องปรับลดมูลค่าทรัพย์สินลงเป็นมูลค่าที่ต่ำกว่า โดยใช้บัญชีสินทรัพย์ที่ตรงกันข้าม

การกำหนดมูลค่าตามราคาตลาด จะมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝั่งละ 1 ฝ่าย ในสัญญาฟิวเจอร์ส ฝ่ายนึงคือผู้ซื้อ-ขายระยะยาว และอีกหนึ่งฝ่ายคือผู้ซื้อ-ขายระยะสั้น

ตัวอย่างของการกำหนดมูลค่าตามราคาตลาด

เพื่อทำให้คุณเข้าใจถึง การปรับราคาแบบ Mark To Market (MTM) ให้มากขึ้น ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน เริ่มจากการที่ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ จะกำหนดมูลค่าบัญชีของผู้ซื้อ-ขายตามราคาตลาดทุกวัน โดยมีการชำระกำไรและขาดทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหลักทรัพย์ของตนเอง ซึ่งจะมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝั่งละ 1 ฝ่าย ในสัญญาฟิวเจอร์ส ฝ่ายนึงคือผู้ซื้อ-ขายระยะยาว และอีกหนึ่งฝ่ายคือผู้ซื้อ-ขายระยะสั้น

หากในตอนสิ้นวัน สัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้าที่ทำขึ้นมีมูลค่าลดลง บัญชีมาร์จิ้นระยะยาวก็จะลดลง ส่วนบัญชีมาร์จิ้นระยะสั้นก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มูลค่าที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้บัญชีมาร์จิ้นที่ถือสถานะซื้อเพิ่มขึ้น และบัญชีมาร์จิ้นระยะสั้นลดลง

ยกตัวอย่าง การป้องกันความเสี่ยงจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ตกต่ำ

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสาลีจะถือสถานะขายชอร์ตในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าข้าวสาลี 10 สัญญา ในวันที่ 21 พฤศจิกายน และเนื่องจากสัญญาแต่ละสัญญา มีการกำหนดเอาไว้ที่ 5,000 บุชเชล (บุชเชล คือ หน่วยตวงวัดข้าว) เกษตรกรจึงป้องกันความเสี่ยงจากการลดลงของราคาข้าวสาลี 50,000 บุชเชล หากราคาของสัญญาหนึ่งอยู่ที่ 4.50 ดอลลาร์ในวันที่ 21 พฤศจิกายน บัญชีของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวสาลีจะถูกบันทึกเป็น 4.50 ดอลลาร์ x 50,000 บุชเชล = 225,000 ดอลลาร์

การเปลี่ยนแปลงของราคาฟิวเจอร์สรายวันในมูลค่า กำไร/ขาดทุน กำไร/ขาดทุนสะสม ยอดคงเหลือในบัญชี คือ…

วิธีการคำนวณยอดคงเหลือในบัญชีจากตัวอย่าง

ซึ่งเกษตรกรมีสถานะขายชอร์ตในสัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้าข้าวสาลี ดังนั้น หากมูลค่าสัญญาลดลง มูลค่าบัญชีของเกษตรกรก็จะเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกัน แต่ถ้าหากมูลค่าบัญชีเพิ่มขึ้น มูลค่าบัญชีก็จะลดลง ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่ 2 สัญญาซื้อขายล่วงหน้าข้าวสาลีเพิ่มขึ้น $4.55 – $4.50 = $0.05 ส่งผลทำให้เกิดการขาดทุนในวันนั้น $0.05 x 50,000 บุชเชล = $2,500

จำนวนเงินนี้จะถูกหักออกจากยอดเงินคงเหลือในบัญชีของเกษตรกร และจะถูกเพิ่มเข้าในบัญชีของผู้ค้าในอีกด้านหนึ่งของธุรกรรม ที่ถือสถานะซื้อในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของข้าวสาลี การชำระราคาตามราคาตลาดรายวันจะดำเนินต่อไปจนถึงวันหมดอายุของสัญญาซื้อ-ขายล่วงหน้า หรือจนกว่าเกษตรกรจะปิดสถานะ โดยถือสถานะซื้อในสัญญาที่มีอายุครบกำหนดเท่ากัน

โดยตัวอย่างข้างต้นที่เราได้นำมาเสนอนี้ ยอดเงินในบัญชีจะถูกทำเครื่องหมายเป็นรายวัน โดยใช้คอลัมน์กำไร/ขาดทุน คอลัมน์กำไร/ขาดทุนสะสม จะถึงแสดงการเปลี่ยนแปลงสุทธิในบัญชี ตั้งแต่วันที่ 1

การปรับมูลค่าตามราคาตลาด ไม่อาจสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์อ้างอิงได้อย่างแม่นยำ เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงิน และสิ่งนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2008 – 2009

ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม ที่เกี่ยวกับ การปรับมูลค่าตามราคาตลาด

ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อการวัดราคาตามตลาด ไม่อาจสะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์อ้างอิงอย่างแม่นยำ ซึ่งสิ่งนี้อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อบริษัทถูกบังคับให้คำนวณราคาขายของสินทรัพย์หรือหนี้สิน ในช่วงเวลาที่ไม่เอื้ออำนวยหรือเกิดการผันผวนอย่างผิดปกติ เช่น ในช่วงวิกฤตทางการเงิน

ยกตัวอย่างเช่น หากสินทรัพย์มีสภาพคล่องต่ำหรือผู้ลงทุนเกิดความกลัว ราคาขายปัจจุบันของสินทรัพย์ของธนาคารอาจต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ เคยเกิดขึ้นจริงมาแล้ว ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2008 – 2009 เมื่อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันด้วยสินเชื่อที่อยู่อาศัย (MBS) ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ในงบดุลของธนาคาร ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากตลาดสำหรับหลักทรัพย์เหล่านี้ได้หายไปแล้ว

แต่อย่างไรก็ตาม ในปี 2009 หลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินขึ้น คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีทางการเงิน (FASB) ก็ได้อนุมัติแนวทางใหม่ โดยเป็นการอนุญาตให้ประเมินมูลค่า โดยอิงตามราคาที่จะได้รับในตลาดที่ แทนที่จะต้องชำระบัญชีโดยบังคับ

สรุป

สินทรัพย์และหนี้สินบางประเภทที่มีมูลค่าผันผวนตามช่วงเวลา จำเป็นต้องได้รับการประเมินเป็นระยะ ๆ ตามสภาวะตลาดปัจจุบัน ด้วยวิธี Mark To Market (MTM) ซึ่งอาจรวมถึงบัญชีบางบัญชีในงบดุลของบริษัทและสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย ซึ่งการประเมินมูลค่าตามราคาตลาดนั้นแสดงให้เห็นว่ารายการสินค้าที่เป็นปัญหา จะมีราคาเท่าไรหากขายออกไปในวันนี้ และเป็นทางเลือกหนึ่งของการบัญชีต้นทุนในอดีต ซึ่งเป็นการรักษามูลค่าของสินทรัพย์ไว้ที่ต้นทุนการซื้อเดิม

SOURCE :