Mean Reversion คืออะไร

Mean Reversion คือ แนวคิดทางสถิติที่ได้มีการตั้งสมมติฐานว่า “แม้ราคาจะเคลื่อนออกจากค่าเฉลี่ย (Mean) ในระยะสั้น แต่แล้วก็จะกลับคืนสู่ค่าเฉลี่ยในระยะยาว” ซึ่งเราต้องขอบอกก่อนเลยว่า ความเป็นจริงของ “ทฤษฎี” นี้ ยังไม่สามารถยืนยันได้อย่างเต็มที่ เพราะอย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่ว่าตลาดการเทรดไม่สามารถคาดการณ์สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้แบบ 100%

แต่! ถึงกระนั้นก็มีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริงมามากมายที่สนับสนุนแนวคิดทฤษฎีนี้ และเรายังพบเจอแนวคิดทางสถิตินี้ ในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ อย่าง ฟอเร็กซ์ อัตราดอกเบี้ย และความผันผวนของหุ้น ด้วย และวันนี้เราจะพาเทรดเดอร์มาล้วงความรู้ในโลกของการเทรดกันอีกเช่นเคย

Mean Reversion มีความสำคัญยังไง ทำไมต้องรู้

เหตุผลที่คุณต้องทำความรู้จักกับ Mean Reversion เพราะสิ่งนี้เป็นแนวคิดพื้นฐานด้านการเงิน ที่เทรดเดอร์มืออาชีพต่างใช้กันอย่างแพร่หลาย และยังเป็นพื้นฐานของกลยุทธ์การซื้อขาย การพลิกกลับสู่ค่าเฉลี่ยอีกด้วย หลักการนี้บอกเราว่า ราคา ผลตอบแทน หรือตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจมักจะเคลื่อนตัวกลับสู่ค่าเฉลี่ยในระยะยาว ไม่ว่าค่าจะไหลไปสู่ที่สูงหรือต่ำ แต่แล้วก็มักจะตามมาด้วยการกลับสู่ค่าเฉลี่ย ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกถึงภาวะสมดุลทางสถิติ

ดังนั้นสำหรับเทรดเดอร์ การทำความเข้าใจแนวคิดการพลิกกลับสู่ค่าเฉลี่ยจัดเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการพัฒนากลยุทธ์การซื้อขายการกลับสู่ค่าเฉลี่ยที่มีประสิทธิภาพ และยังช่วยปรับปรุงการตัดสินใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตลาดในต่าง ๆ ได้อย่างดีมากขึ้นด้วย

Mean Reversion คือแนวคิดที่ว่า “แม้ราคาจะเคลื่อนออกจากค่าเฉลี่ย (Mean) ในระยะสั้น แต่แล้วก็จะกลับคืนสู่ค่าเฉลี่ยในระยะยาว”

วิธีการใช้กลยุทธ์การซื้อขายแบบ Mean Reversion

“การพลิกกลับสู่ค่าเฉลี่ย” เป็นแนวคิดที่สำคัญที่นักลงทุนสาย ฟอเร็กซ์ หุ้น พันธบัตร และสินค้าโภคภัณฑ์ ต้องรู้ โดยเฉพาะวิธีใช้กลยุทธ์ที่เรากำลังจะมาแนะนำกันนี้ โดยให้คุณยึดตามหลักการที่ว่า ราคาจะมีแนวโน้มที่จะกลับคืนสู่ค่าเฉลี่ยในอดีต เมื่อคุณเห็นว่าราคาของสินทรัพย์เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ คุณอาจซื้อในราคาที่ต่ำ ถ้าหากมูลค่าของสินทรัพย์นั้นต่ำกว่าความเป็นจริง และขายในราคาที่สูง หากมูลค่าของสินทรัพย์นั้นสูงเกินไป โดยที่มีการคาดการณ์ว่าราคาจะกลับไปอยู่ที่ค่าเฉลี่ย

กลยุทธ์การซื้อขายแบบกลับค่าเฉลี่ย ใช้ประโยชน์จากการเบี่ยงเบนของราคาเหล่านี้นี่เอง และในตลาดที่มีการเคลื่อนไหวออกด้านข้าง (Sideways) เมื่อราคาของสินทรัพย์เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยอย่างเห็นได้ชัด ก็มักคาดว่าราคาจะมีการกลับตัว ซึ่งจุดนี้แหละที่เปิดโอกาสในการซื้อขาย จากการเช็กสภาวะที่มีการซื้อมากเกินไป หรือขายมากเกินไป เทรดเดอร์สามารถตัดสินใจเข้าซื้อในราคาต่ำและขายในราคาสูง

นักลงทุนจะใช้กลยุทธ์การกลับตัวของค่าเฉลี่ย ได้ยังไง?

นักลงทุนสามารถใช้กลยุทธ์การกลับตัวของค่าเฉลี่ยนี้ เพื่อใช้ประโยชน์จากราคาสินทรัพย์ที่เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยในอดีตอย่างมีนัยสำคัญได้ โดยสมมติฐานพื้นฐานคือ ราคาจะกลับตัวไปสู่ค่าเฉลี่ยในระยะยาวในที่สุด ดังนั้นนักลงทุนมักใช้การกลับตัวของค่าเฉลี่ยในลักษณะดังต่อไปนี้

  • การวิเคราะห์ทางสถิติ นักลงทุนจะใช้เครื่องมือทางสถิติ เช่น  Z-scores เพื่อวัดว่าราคาสินทรัพย์เบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากเพียงใด Z-scores ที่สูงกว่า 1.5 หรือต่ำกว่า -1.5 อาจเป็นสัญญาณถึงโอกาสในการซื้อขาย
  • การซื้อขายแบบคู่ ในกรณีนี้นักลงทุนจะระบุสินทรัพย์ที่มีความสัมพันธ์กัน 2 รายการ เมื่ออัตราส่วนราคาระหว่างสินทรัพย์ทั้งสองเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ย ก็จะทำการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ประเมินค่าต่ำกว่ามูลค่าจริง และเข้าขายสินทรัพย์ที่ประเมินค่าสูงเกินไป
  • การจัดการความเสี่ยง โดยทั่วไปแล้ว การตั้งคำสั่งตัดขาดทุนและจุดทำกำไรสามารถตั้งค่าได้ตามรอบค่าเฉลี่ยเพื่อจัดการกับการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นและรักษาผลกำไรเอาไว้
  • การซื้อขายอัลกอริทึม นอกจากนี้นักวิเคราะห์เชิงปริมาณยังใช้การกลับตัวของค่าเฉลี่ย ในกลยุทธ์การซื้อขายอัลกอริทึมด้วย โดยมักใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนเพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคา

เราจะสร้างกลยุทธ์การซื้อขาย แบบพลิกกลับสู่ค่าเฉลี่ยได้อย่างไร?

ลองมาดูวิธีการสร้างกลยุทธ์เหล่านี้ไปทีละข้อกันเลย

1.เลือกตลาดการลงทุนที่เหมาะสม

ถ้าคุณต้องการใช้กลยุทธ์การซื้อขายแบบกลับค่าเฉลี่ย ให้เลือกตลาดที่ขึ้นชื่อว่ามีพฤติกรรมการกลับค่าเฉลี่ยสูง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น คู่สกุลเงิน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ที่เคลื่อนไหวตามค่าเฉลี่ยในอดีต และขอให้หลีกเลี่ยงตลาดที่มีแนวโน้มแข็งแกร่งที่พึ่งเกิดขึ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้

2. การวิเคราะห์ข้อมูล

ให้คุณวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเพื่อหาช่วงเวลาที่ตลาดแสดงแนวโน้มการกลับค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ และให้ศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาในกรอบเวลาหลายกรอบในช่วงเวลาดังกล่าว มองหาช่วงเวลาที่ช่วงราคา (กลับไปสู่ค่าเฉลี่ย) เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวอาจเผยจุดเข้าให้กับคุณ

3. กำหนดกรอบเวลา

ให้คุณตัดสินใจเลือกกรอบเวลาที่เหมาะสมกับกลยุทธ์การซื้อขายของตัวเอง กรอบเวลาที่แตกต่างกันอาจมีการกลับค่าเฉลี่ยในระดับที่แตกต่างกัน เลือกว่าอยากเทรดในกรอบเวลาที่สั้น หรือในกรอบเวลาที่ยาว

ให้คุณหาวิธีเข้าและออกที่ “ชัดเจนและแม่นยำ” เพื่อวางแผนกลยุทธ์ในการเทรดที่ดีที่สุด

4. การเข้าและออก

ให้คุณหาวิธีเข้าและออกที่ “ชัดเจนและแม่นยำ” ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจเข้าตำแหน่งซื้อเมื่อราคาของสินทรัพย์อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยและใกล้กับระดับแนวรับ และออกเมื่อราคาข้ามเหนือค่าเฉลี่ย (หรืออีกทางหนึ่งคือพุ่งขึ้นสู่จุดตรงข้าม) ในทางกลับกัน ให้เข้าตำแหน่งขายเมื่อราคาอยู่เหนือค่าเฉลี่ยและใกล้กับระดับแนวต้าน ออกเมื่อราคาตกลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหรือเคลื่อนตัวลงมาที่จุดต่ำสุดของช่วง

สัญญาณการเข้าซื้อขาย เช็กยังไง มาดูกัน

คราวนี้เราจะนำคุณมาทำความรู้จักกับ “Bollinger Bands” ซึ่งถือเป็นวิธีการที่เป็นระบบในการกำหนดเวลาซื้อและขายระหว่างที่ราคากลับค่าเฉลี่ย Bollinger Bands จะทำหน้าที่เป็นแนวรับและแนวต้านแบบไดนามิกในการซื้อขาย เมื่อราคาแตะแถบล่าง มักจะบ่งชี้ถึงจุดเข้าซื้อที่เป็นไปได้ ซึ่งบ่งบอกว่าสินทรัพย์นั้นถูกขายมากเกินไป ในทางกลับกัน การสัมผัสกับแถบบนอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโอกาสในการเข้าขาย ซึ่งบ่งบอกว่าสินทรัพย์นั้นถูกซื้อมากเกินไป

เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์การซื้อขายแบบกลับค่าเฉลี่ยควรหาการยืนยันด้วยการเช็กรูปแบบแท่งเทียนการกลับตัวของราคาที่ใกล้กับแถบเหล่านี้ เส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งโดยทั่วไปคือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ อาจทำหน้าที่เป็นจุดออกหรือเพื่อประเมินความแข็งแกร่งของแนวโน้ม ในกราฟที่เรายกตัวอย่างมานี้ ลูกศรสีน้ำเงินและสีแดงเน้นจุดเข้าที่เป็นไปได้

การใช้แถบ Bollinger คุณต้องมองหากราฟรูปแบบแท่งเทียนเพื่อ ใช้ “ยืนยัน” สัญญาณเหล่านี้ แถบจะปรับตัวตามความผันผวนของตลาด โดยจะขยายออกเมื่อราคาสูง และหดตัวเมื่อตลาดสงบ

การใช้แถบ Bollinger ในกลยุทธ์การซื้อขายแบบกลับตัวเป็นค่าเฉลี่ย

แถบ Bollinger ที่มีระดับแนวรับและแนวต้านแบบไดนามิกนั้นจะอาศัยข้อมูลที่มาจากสถิติ โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดไว้ที่ 2 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2 sd.) จากค่าเฉลี่ย ซึ่งครอบคลุมข้อมูลราคาประมาณ 95% เมื่อราคาแตะแถบบน ซึ่งบ่งชี้ถึงสภาวะซื้อมากเกินไป แสดงว่าอาจเกิดจุดเข้าซื้อในกลยุทธ์การซื้อขายแบบกลับตัวค่าเฉลี่ย

แต่ในทางกลับกัน หากแตะแถบล่าง ซึ่งบ่งชี้ถึงสภาวะขายมากเกินไป อาจบ่งชี้ถึงจุดเข้าซื้อ แต่คุณต้องมองหากราฟรูปแบบแท่งเทียนเพื่อ ใช้ “ยืนยัน” สัญญาณเหล่านี้ แถบจะปรับตัวตามความผันผวนของตลาด โดยจะขยายออกเมื่อราคาสูง และหดตัวเมื่อตลาดสงบ โดยพื้นฐานแล้ว แถบ Bollinger จะนำเสนอแนวทางตามสถิติสำหรับผู้ซื้อขาย โดยจับการเคลื่อนไหวของราคาส่วนใหญ่ภายในแถบ 2 sd.

การใช้การจัดการความเสี่ยงในการ การซื้อขายแบบ Mean Reversion ให้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ขั้นต่ำ 2:1 เพื่อทำให้ชัดเจนว่าผลตอบแทนที่คุณคาดหวังนั้นจะคุ้มค่ากับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

กลยุทธ์ Mean Reversion มีการจัดการความเสี่ยงยังไง?

เมื่อคุณทำการซื้อขาย โดยใช้กลยุทธ์การซื้อขายแบบกลับทิศทาง กำไรจะเกิดขึ้นในตลาดที่มีขอบเขตจำกัด ด้วยการตั้งเป้าบวกกำไรที่ค่อนข้างใกล้กับจุดเข้าซื้อขาย ดังนั้น การใช้การจัดการความเสี่ยงที่ดีจึงมีความสำคัญมาก ๆ ซึ่งคุณจำเป็นต้องตั้งคำสั่งตัดขาดทุนไว้ด้านนอกขอบเขตเพื่อจำกัดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นหากราคาทะลุกรอบแทนที่จะกลับทิศทาง และกระจายเงินทุนในการซื้อขายหลายรายการ เพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดรับความเสี่ยงมากเกินไปในตำแหน่งเดียว

และให้คุณคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนสำหรับการซื้อขายแต่ละรายการ โดยให้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ขั้นต่ำ 2:1 เพื่อทำให้ชัดเจนว่าผลตอบแทนที่คุณคาดหวังนั้นจะคุ้มค่ากับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และพยายามเช็กการซื้อขายอย่างต่อเนื่องเพื่อดูว่าราคาทะลุกรอบหรือไม่ และปรับจุดตัดขาดทุนให้เหมาะสมเพื่อปกป้องเงินทุนของคุณเอง วินัยในการปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ถือเป็นกุญแจสำคัญในการทำกำไรในระยะยาว

สรุป

ทฤษฎีทางการเงิน การซื้อขายแบบ Mean Reversion ระบุว่า ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มที่จะกลับสู่ค่าเฉลี่ยที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ทฤษฎีนี้ทำหน้าที่เป็นรากฐานสำหรับแนวทางการซื้อขายต่าง ๆ ในประเภทสินทรัพย์ที่หลากหลาย ซึ่งนักลงทุนควรต้องคำนึงถึงความเสี่ยงและข้อจำกัดก่อนทำการลงทุนทุกครั้ง

SOURCE :