Forex Broker King ย่อให้
- ICT Concept คือกลยุทธ์การเทรดที่เน้นการเข้าใจการเคลื่อนไหวของราคาเพื่อให้เทรดเดอร์สามารถจับจังหวะการเข้าและออกตลาดได้อย่างแม่นยำ
- เน้นใช้ Market Structure Shift (MSS) และ Liquidity ในการระบุทิศทางของตลาด, Order Blocks ในการหาจุดเข้าเทรดที่แม่นยำ, และ Optimal Trade Entry (OTE) เพื่อเพิ่มโอกาสทำกำไร
- ข้อควรระวัง: ICT Concept ไม่สามารถรับประกันความแม่นยำ 100% ดังนั้นการจัดการความเสี่ยงและ Money Management ที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ
- ข้อดี: เทรดเดอร์จะสามารถเห็นภาพรวมของตลาดและมีการวางแผนที่ชัดเจน
- ข้อเสีย: ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนและมีความเข้าใจลึกซึ้งเกี่ยวกับตลาดเพื่อทำกำไรอย่างยั่งยืน
Inner Circle Trader (ICT) คืออะไร?
แนวคิดหลักๆของ ICT Concept คือการใช้ Market Structure และ Price Action
Inner Circle Trader (ICT) คือแนวคิดการเทรดที่พัฒนาโดย Michael J. Huddleston หรือที่รู้จักกันในชื่อ ICT ซึ่งมุ่งเน้นการเข้าใจลึกซึ้งถึงการเคลื่อนไหวของราคาในตลาด Forex โดยเฉพาะ การทำความเข้าใจพฤติกรรมของ Smart Money และการใช้เครื่องมือเฉพาะที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถ คาดการณ์ การเคลื่อนไหวของราคาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำไม ICT Concept ถึงมีความสำคัญ?
- จับจังหวะการเคลื่อนไหวในตลาด: ICT Concept ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเข้าใจการเคลื่อนไหวของราคาในตลาดได้อย่างแม่นยำ โดยมุ่งเน้นที่การ ระบุจุดเข้า และ จุดออก ที่เหมาะสมโดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมือที่ซับซ้อนเกินไป
- ไม่พึ่งพาเครื่องมือที่ซับซ้อน: เน้นไปที่การอ่าน Price Action และ Market Structure ซึ่งทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
- เพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจ: ด้วยการเข้าใจพฤติกรรมของ Smart Money และการใช้เครื่องมืออย่าง Order Blocks, Liquidity Pools, Fair Value Gap (FVG) การตัดสินใจของเทรดเดอร์จะมีความแม่นยำสูงขึ้น ซึ่งช่วยให้สามารถทำกำไรได้ดีขึ้นในระยะยาว
8 องค์ประกอบสำคัญของแนวคิด ICT ใช้อะไรในการขยับตลาด?
1. Market Structure Shift (MSS) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาด
MSS เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตลาด Change Of Character จะเป็นจุดที่ Smart Money เข้าออเดอร์บ่งบอกว่าตลาดกำลังเปลี่ยนแนวโน้ม
- Market Structure Shift (MSS) เป็นหัวใจหลักของแนวคิด ICT ที่ช่วยให้นักเทรดเข้าใจว่าตลาดกำลังเปลี่ยนแนวโน้มแทนที่จะใช้ Indicator จำนวนมาก MSS เน้นไปที่การอ่านพฤติกรรมของราคา (Price Action) และโครงสร้างตลาด (Market Structure)
- องค์ประกอบของ MSS
- Break of Structure (BOS): บ่งบอกว่าตลาดยังคงเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มเดิม
- Change of Character (CHOCH): บอกว่าตลาดอาจกำลังเปลี่ยนแนวโน้ม และเป็นจุดที่ Smart Money อาจเริ่มเข้าออเดอร์
- เมื่อเกิด MSS เทรดเดอร์ควรพิจารณาดูสัญญาณอื่น ๆ ประกอบ เช่น การเกิด Fair Value Gap (FVG) หรือ Liquidity Pool ก่อนการเข้าเทรด
2. Liquidity เชื้อเพลิงที่ขับเคลื่อนตลาด
Liquidity สามารถแยกได้หลักๆคือ Buy Side Liquidity ที่เป็นจุด SL ของทางฝั่ง Sell และ Sell Side Liquidity ที่เป็นจุด SL ของทางฝั่ง Buy
- Smart Money ใช้ Liquidity เพื่อเป็นเป้าหมายในการไล่ราคาก่อนเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ
- ตลาดจะมุ่งไปยังจุดที่มี Liquidity เพื่อดึงคำสั่งซื้อขายจำนวนมากก่อนที่ Smart Money จะเข้ามาดันราคาไปในทิศทางที่พวกเขาต้องการ
- ประเภทของ Liquidity ที่ต้องรู้
- Buy Side Liquidity (BSL): จุดที่มี Stop Loss ของฝั่ง Sell สะสม
- Sell Side Liquidity (SSL): จุดที่มี Stop Loss ของฝั่ง Buy สะสม
- Liquidity Pools: บริเวณที่มี Pending Orders จำนวนมาก
- การเข้าใจ Liquidity ทำให้สามารถวางแผนเทรดให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของตลาดได้
3. Displacement พลังของการเคลื่อนที่ของตลาด!
ตัวอย่างของสัญญาณ Displacement คือราคา Break แนวรับ หรือต้าน และเป็นแท่งเทียนขนาดใหญ่ ไม่กลับมา Retest
- Displacement คือการเคลื่อนที่ของราคาอย่างรวดเร็วและชัดเจน แสดงให้เห็นว่า Smart Money กำลังมีบทบาทในตลาด
- หากมีการเคลื่อนที่ของราคาแบบชัดเจน และเกิด Volume สูง อาจเป็นสัญญาณว่าแนวโน้มกำลังจะเริ่มต้น
- สัญญาณที่บอกว่าเกิด Displacement
- แท่งเทียนที่เคลื่อนที่แรงและมีลักษณะเป็นแท่งเทียนขนาดใหญ่
- ราคา Break แนวรับหรือแนวต้านอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการกลับมา Retest
- เกิด Fair Value Gap (FVG) ซึ่งเป็นช่องว่างของราคาระหว่างแท่งเทียน
- การใช้ Displacement
- ราคา Breakout อย่างรุนแรงและเกิด FVG: ตลาดอาจกลับมาเติมช่องว่างก่อนวิ่งต่อ
- Displacement เกิดร่วมกับ MSS และ Liquidity: โอกาสที่แนวโน้มใหม่จะเกิดขึ้นสูงมาก
4. Fair Value Gap (FVG) ช่องว่างของราคาที่ต้องเติมเต็ม
ช่องว่างที่เกิดขึ้นเมื่อกราฟมีความผันผวน เป็นจุดสังเกตุในการทำกำไร
- FVG คือช่องว่างที่เกิดขึ้นในกราฟเมื่อราคาขยับอย่างรวดเร็วในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดพื้นที่ว่างระหว่างแท่งเทียน เนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างแรงซื้อและแรงขายในตลาด โดย FVG มักเกิดในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง
- ลักษณะของ Fair Value Gap
- แท่งแรก: ราคาปิดหรือไส้เทียนมีระยะห่างจากแท่งกลาง แสดงถึงการเริ่มต้นของแรงซื้อหรือขาย
- แท่งกลาง: แท่งที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและเกิดช่องว่างชัดเจน เป็นแท่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดพื้นที่ว่าง
- แท่งสุดท้าย: ราคายังไม่เติมเต็มช่องว่างทั้งหมด แสดงว่าตลาดยังมีโมเมนตัมในทิศทางเดิม
5. Inducement กับดักของ Smart Money
ตัวอย่างของกับดัก หรือ Inducement นั่นก็คือ Fake Breakout ที่มีการทะลุและเกิดการกลับตัว
- Smart Money ใช้ Inducement เพื่อให้สามารถเข้าออเดอร์ขนาดใหญ่ได้ พวกเขาจะสร้างภาพลวงตาให้เทรดเดอร์รายย่อยเชื่อว่าตลาดกำลังจะไปในทิศทางหนึ่ง แล้วฉวยโอกาสเคลื่อนที่ไปทางตรงกันข้าม หรือก็คือการสร้าง Liquidity นั่นเองครับ
- ตัวอย่างของ Inducement
- Fake Breakout: ราคาทะลุแนวรับ/แนวต้าน แล้วกลับตัว
- Stop Hunt: ราคาถูกลากลงไปกวาด Stop Loss ก่อนกลับไปในทิศทางเดิม
- Liquidity Grab: ตลาดถูกบีบให้เคลื่อนไปแตะจุดที่มีออเดอร์สะสม ก่อนกลับทิศทาง
- หากเข้าใจ Inducement ก็จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถใช้มันเป็นจุดเข้าเทรดที่แม่นยำมากขึ้นได้
6. Kill zones ช่วงเวลาลับที่ตลาดเคลื่อนไหวแรงที่สุด
ช่วงเวลา Kill Zones คือช่วงเวลาที่ตลาดเคลื่อนไหมแรงและเป็นจุดที่ Smart Money ใช้เป็นจุดเข้าออเดอร์
- ช่วงเวลา Kill Zones เป็นช่วงเวลาที่ตลาดมีความเคลื่อนไหวสูงและ Smart Money มักใช้ในการเข้าออเดอร์
- ช่วงเวลา Kill Zones ตามเวลาประเทศไทย (GMT+7)
- Asian Kill Zone (06:00 – 10:00 น.)
- London Kill Zone (14:00 – 17:00 น.)
- New York Kill Zone (19:00 – 22:00 น.)
- London Close Kill Zone (02:00 – 05:00)
- ทำไมการเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเทรดจึงสำคัญ?
- Asian Kill Zone: มักเป็น Sideways เนื่องจากสภาพคล่องจากยุโรปและอเมริกายังไม่เริ่มต้นการเคลื่อนไหวของราคาจะไม่ค่อยรุนแรงและไม่ค่อยมีทิศทางที่ชัดเจน ช่วงนี้มักใช้เป็น แนวรับ-แนวต้าน สำหรับการเคลื่อนไหวใน London และ New York
- London Kill Zone: เป็นช่วงที่ Smart Money ใช้ในการเข้าออเดอร์ขนาดใหญ่ ทำให้สภาพคล่องสูง
- New York Kill Zone: ตลาดอเมริกาเปิด ทำให้มีสภาพคล่องสูงและการเคลื่อนไหวของราคามักจะ รุนแรง
- London Close Kill Zone: เมื่อตลาดนิวยอร์กใกล้ปิด เป็นช่วงที่ Smart Money ปิดออเดอร์ มักเกิดการกลับตัว (Reversal) หรือการ ปรับฐาน (Retracement)
7. Order Blocks (OB) จุดที่ Smart Money วางออเดอร์ใหญ่
Order Block เป็นจุดที่ราคามักกลับตัว Bullish Order Block เป็นจุดที่ราคามักกลับตัวขึ้น Bearish Order Block เป็นจุดที่ราคามักกลับลงมา
- Order Blocks คือแท่งเทียนที่ Smart Money และเทรดเดอร์ในตลาดใช้เป็นจุดในการเข้าออเดอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งมักจะเป็นจุดที่ตลาด กลับตัว หรือ ปรับฐาน
- ประเภทของ Order Blocks
- Bullish Order Block: จุดที่ราคามักจะกลับขึ้นไป เหมาะสำหรับ Buy
- Bearish Order Block: จุดที่ราคามักจะกลับลงมา เหมาะสำหรับ Sell
- การใช้ Order Blocks ในการเทรด
- การมองหา Bullish Order Block ในช่วงขาลงหรือ Bearish Order Block ในช่วงขาขึ้นจะช่วยให้เข้าออเดอร์ได้แม่นยำขึ้น
- ใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ MSS เพื่อยืนยันแนวโน้มของตลาด และ Liquidity เพื่อจับจุดเข้าเทรดที่ดีที่สุด
8. Optimal Trade Entry (OTE) จุดเข้าเทรดที่ดีที่สุด
OTE คือจุดที่เทรดเดอร์เลือกใช้ Fibonacci เข้ามาช่วยให้เข้าเทรดแม่นยำมากขึ้นโดยจุดที่จะเข้าคือระหว่าง 61.8% – 78.6%
- Optimal Trade Entry (OTE) คือจุดที่ Smart Money หรือผู้เทรดเดอร์เลือกเข้าเทรด ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเข้าออเดอร์ที่มีความเสี่ยงต่ำและผลตอบแทนสูงที่สุด
- หลักการของ OTE
- ใช้ Fibonacci Retracement: OTE ใช้ระดับ Fibonacci ระหว่าง 8% – 78.6% เพื่อหาจุดที่ดีที่สุดในการเข้าเทรด
- การกลับไปที่จุดสมดุล: จุดนี้เป็นช่วงที่ราคามักจะ กลับไปที่ระดับสมดุล ก่อนที่ราคาจะเคลื่อนไปในทิศทางตามแนวโน้มหลัก
- การปรับฐานในแนวโน้มขาขึ้น: ในแนวโน้มขาขึ้น เทรดเดอร์จะมองหาการปรับฐานที่ลึกพอสมควรแต่ไม่ลึกเกินไป จึงจะสามารถทำกำไรได้
- ทำไม OTE ถึงสำคัญ?
- ความสมดุลของตลาด: การดีดตัวของราคาในจุดที่มีการซื้อขายขนาดใหญ่หรือการตัดขาดทุนจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงการสร้างจุดที่สมดุลที่ราคาเคยเคลื่อนไหวไปมาในอดีต ซึ่งมักจะกลับไปที่จุดนั้น
- การใช้ OTE ร่วมกับ Order Blocks และ MSS: การใช้ OTE ร่วมกับ Order Blocks (จุดที่ Smart Money เข้าออเดอร์) และ Market Structure Shift (MSS) จะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการเข้าเทรด โดยช่วยยืนยันว่าแนวโน้มของตลาดยังแข็งแกร่งและราคามีโอกาสที่จะเคลื่อนไปตามทิศทางที่คาดการณ์
สรุปวิธีใช้ ICT Concept ในการเทรดจริง
- ดูโครงสร้างตลาดว่ากำลังเป็นขาขึ้นหรือขาลง (Market Structure)
- ค้นหา Liquidity Zones ที่มี Stop Loss สะสม
- รอให้ตลาดเกิด Break of Structure (BOS) หรือ Change of Character (CHOCH)
- ใช้ Fair Value Gap (FVG) และ Order Blocks ในการหาจุดเข้า
- ใช้ Optimal Trade Entry (OTE) เพื่อหาจุดเข้าเทรดที่เสี่ยงต่ำ
ข้อควรระวังในการประยุกต์ใช้แนวคิด ICT
การใช้ ICT Concept ในการเทรดสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและเข้าใจพฤติกรรมของตลาดได้ดีขึ้น แต่ก็ยังมีข้อควรระวังที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการเทรด ดังนี้
- ไม่ใช่ทุกการเคลื่อนไหวของราคาจะเป็นไปตาม ICT 100%
- แม้ว่า ICT Concept จะมีความแม่นยำในการระบุทิศทางของตลาด แต่ในบางกรณีตลาดก็อาจจะมีการเคลื่อนไหวที่ไม่สามารถคาดเดาได้ 100% เนื่องจากปัจจัยภายนอก เช่น ข่าวเศรษฐกิจหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
- การเคลื่อนไหวของตลาดไม่สามารถควบคุมได้เสมอไป จึงต้องมีการปรับกลยุทธ์ตามสถานการณ์
- ต้องใช้เวลาในการฝึกฝนและเข้าใจพฤติกรรมของ Smart Money
- การเข้าใจ Smart Money และพฤติกรรมของมันในตลาดต้องใช้เวลาในการสังเกตและฝึกฝน เนื่องจากต้องสามารถระบุ Inducement และ Displacement ได้อย่างแม่นยำ
- ถ้าคุณยังไม่คุ้นเคยกับ MSS, FVG, หรือ Order Blocks คุณอาจจะพบว่าในการเทรดบางครั้งการใช้ ICT จะยังไม่แม่นยำเหมือนที่คุณคาดหวัง การฝึกฝนและเรียนรู้จากประสบการณ์จะช่วยให้คุณเข้าใจได้ดีขึ้น
- ต้องมีการจัดการความเสี่ยงที่ดี
- แม้ว่า ICT Concept จะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเทรด แต่ไม่มีแนวคิดไหนที่สามารถรับประกันได้ว่าจะทำกำไร 100%
- การจัดการความเสี่ยงที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การตั้ง Stop Loss ที่เหมาะสม, การใช้ Position Sizing ที่เหมาะสมกับทุนที่มี และการควบคุมอารมณ์ในการเทรดเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ผิดพลาดจากความเครียดหรือความโลภ
- การพึ่งพา ICT Concept เพียงอย่างเดียว
- ควรใช้ ICT ร่วมกับการวิเคราะห์อื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์พื้นฐาน และ การวิเคราะห์ทางเทคนิค เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเทรด
- การมองข้ามปัจจัยอื่น ๆ เช่น ข่าวเศรษฐกิจหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอาจทำให้การคาดการณ์ผิดพลาดได้
- การไม่รู้จังหวะการออกจากตลาด
- แม้จะเข้าออเดอร์ได้ดีด้วย ICT Concept แต่การ ออกจากตลาด ยังสำคัญไม่แพ้กัน การตั้ง เป้าหมายกำไร และ Stop Loss ที่เหมาะสม พร้อมกับการรู้จังหวะการออกจะช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสีย
- ต้องติดตามผลและเรียนรู้จากการเทรด
- การบันทึกและทบทวนการเทรดจะช่วยให้คุณเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและปรับกลยุทธ์ให้ดียิ่งขึ้น
- การติดตามผลการเทรด และการปรับกลยุทธ์ตามสภาวะตลาดจะช่วยให้การใช้ ICT Concept มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ข้อดีข้อเสียของ ICT Concept
ข้อดีหลักๆของการใช้ ICT Concept มาใช้ในการเทรดคือสามารถเข้าเทรดได้แม่นยำมากขึ้น ส่วนข้อเสียหลักคือต้องอาศัยประสบการณ์ที่มากพอสมควร
ข้อดีของ ICT Concept
- เข้าใจพฤติกรรมของ Smart Money: การเข้าใจว่า Smart Money คิดและทำอะไรจริงๆ ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถ คาดการณ์ การเคลื่อนไหวของตลาดได้ล่วงหน้า ไม่ต้องตามหลังตลาดอีกต่อไป
- ไม่ต้องพึ่งพาเครื่องมือซับซ้อน: ICT Concept ใช้ Price Action และ Market Structure เป็นเครื่องมือหลัก ช่วยให้การตัดสินใจของคุณ เร็วขึ้น โดยไม่ต้องยุ่งยากกับ Indicators ที่ซับซ้อน – เทรดเดอร์มือใหม่ก็สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ
- ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการเทรด: เมื่อเข้าใจ Market Structure Shift (MSS) และ Fair Value Gap (FVG) คุณจะสามารถเลือกจุด เข้า และ ออก ได้แม่นยำขึ้น ราวกับการยิงธนูในจุดที่คุณมั่นใจที่สุด – ลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสทำกำไร
- ช่วยให้ทำกำไรได้ยั่งยืน: ICT Concept ช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมของการเคลื่อนไหวตลาดในระยะยาว – ซึ่งหมายถึงการ ทำกำไร ที่ไม่ใช่แค่ช่วงเวลาสั้นๆ แต่สามารถ ยั่งยืน และ คงที่ ได้ในระยะยาว
- สามารถปรับตัวตามสภาวะตลาด: ไม่มีตลาดไหนที่เหมือนกัน ICT Concept สามารถปรับกลยุทธ์ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะเป็นตลาดที่ ผันผวน หรือ ไม่แน่นอน ซึ่งทำให้เทรดเดอร์สามารถเตรียมตัวและรับมือกับทุกสถานการณ์ได้
ข้อเสียของ ICT Concept
- ต้องใช้เวลาในการฝึกฝน: ไม่มีทางลัดในการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จ การใช้ ICT Concept ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และ ฝึกฝนหลายๆครั้งกว่าจะเข้าใจอย่างแท้จริง คุณอาจจะต้องลองผิดลองถูกไปหลายรอบก่อนที่จะจับจังหวะได้
- ไม่เหมาะสำหรับการเทรดเร็ว: หากคุณเป็นเทรดเดอร์ที่ชอบ ตัดสินใจเร็ว บอกเลยว่า ICT Concept อาจจะทำให้คุณต้อง หยุดคิด และ รอจังหวะที่ดีที่สุด ซึ่งอาจทำให้พลาดโอกาสการเข้าออเดอร์ในบางครั้ง
- ไม่แม่นยำ 100%: การใช้ ICT Concept ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ผลลัพธ์ จะได้ตามที่คาดหวังทุกครั้ง การวิเคราะห์ตลาดไม่ได้ถูกต้องเสมอไป การใช้ Stop Loss และ จัดการความเสี่ยง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมี
- ต้องมีความเข้าใจลึกซึ้ง: ICT Concept ไม่ใช่กลยุทธ์ที่สามารถเข้าใจได้ภายในวันเดียว ต้องเข้าใจถึง Order Blocks, Liquidity, และ Displacement ซึ่งอาจทำให้มือใหม่รู้สึก ท้อ ถ้ายังไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้อย่างละเอียด
- อาจทำให้เกิดการ Over-Analysis: การใช้ ICT Concept บางครั้งอาจทำให้เราวิเคราะห์ตลาดมากเกินไป จนลืมสิ่งสำคัญ และทำให้ตัดสินใจช้า ซึ่งอาจ พลาดโอกาส ไปในที่สุด
บทสรุปสำหรับ นักเทรดแบบ Inner Circle Trader (ICT)
- ICT Concept เป็นเครื่องมือที่ ทรงพลัง ในการเทรด แต่ก็ต้องใช้เวลาฝึกฝนและการเข้าใจที่ลึกซึ้ง การ จัดการความเสี่ยง และ การปรับกลยุทธ์ตามสถานการณ์ จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถทำกำไรจากกลยุทธ์นี้ได้อย่าง ยั่งยืน
- อย่างไรก็ตามไม่มีกลยุทธ์ไหนที่จะแม่นยำ 100% ไม่ใช่ทุก FVG จะมีการกลับตัว แต่มั่นใจได้เลยว่าการที่ศึกษา ICT Concept จะทำให้ได้เห็นภาพรวมของตลาดที่กว้างมากขึ้น และทำให้สามารถพัฒนาการเทรดได้อย่างแน่นอนครับ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ICT Basics: https://trendspider.com/blog/ict-basics-a-beginners-guide/
- What is Inner Circle Trading?: https://www.xs.com/en/blog/ict-trading/
- ICT Trading คืออะไร?: https://fbs.co.th/th/fbs-academy/traders-blog/mastering-the-ict-trading-strategy-key-techniques
- Liquidity Explained: https://www.fluxcharts.com/articles/Trading-Concepts/Price-Action/liquidity