ForexBrokerKing ย่อให้
- โบรกเกอร์คือ “ตัวกลาง” ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น, Forex ฯลฯ ได้
- Forex Broker คือ ผู้ให้บริการเทรดคู่ค่าเงิน มีสองระบบหลักๆคือ โบรเกอร์ Dealing Desk และ โบรกเกอร์ No Dealing Desk
- โบรกเกอร์แบบ Dealing Desk (DD) ตัวโบรกเกอร์จะใช้ระบบทำคู่สัญญากับเทรดเดอร์โดยตรง อาจมีรีโควต หรือมีการทำราคามากิน SL
- No Dealing Desk (NDD) “เป็นตัวกลางจริงๆ” โบรกเกอร์จะส่งคำสั่งตรงไปยังตลาดกลางหรือ Liquidity Provider กราฟราคาจึงเป็นราคาจริง มีความโปร่งใส
- โบรกเกอร์ที่ดี ต้องมีใบอนุญาต ที่น่าเชื่อถือ และมีรีวิวภาพรวมที่ดี
โบรกเกอร์ (Broker) คืออะไร?
โบรกเกอร์ คือ ตัวกลาง ที่ช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น, Forex, คริปโตเคอร์เรนซี, สินค้าโภคภัณฑ์ และตราสารทางการเงินอื่นๆ โบรกเกอร์จะให้บริการผ่านแพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์หรือผ่านนายหน้าการลงทุน
ประเภทของโบรกเกอร์
1. โบรกเกอร์หลักทรัพย์ (Stock Broker)
- ให้บริการซื้อขายหุ้น, กองทุนรวม, ETF และตราสารหนี้
- ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างนักลงทุนและตลาดหลักทรัพย์
- คิดค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม
- ตัวอย่างโบรกเกอร์หลักทรัพย์
- AIRA Securities
- ASL Securities
- Bualuang Securities
2. โบรกเกอร์ Forex (Forex Broker)
- ให้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ “Forex”
- เชื่อมต่อผู้ซื้อและผู้ขาย หรือใช้แพลตฟอร์มเทรดแบบ Market Maker หรือ ECN/STP
- มีค่าธรรมเนียมจากสเปรด (Spread) หรือค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม
- ตัวอย่างโบรกเกอร์ Forex
3. โบรกเกอร์คริปโต (Crypto Broker)
- ให้บริการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล เช่น Bitcoin, Ethereum, และ Altcoins
- บางแห่งมีบริการ การซื้อขายแบบ CFD (Contract for Difference) โดยไม่ต้องถือสินทรัพย์จริง
- คิดค่าธรรมเนียมจากสเปรดหรือค่าคอมมิชชั่น
- ตัวอย่างโบรกเกอร์คริปโต
- Binance
- Coinbase
- Bitkub (ในไทย)
หน้าที่ของโบรกเกอร์มีอะไรบ้าง?
หน้าที่ของโบรกเกอร์หลักๆคือ เป็นตัวกลางในการซื้อขาย คอยช่วยจัดการคำสั่งเทรด และบริการเหล่าเทรดเดอร์
1. เป็นตัวกลางในการซื้อขาย
- ช่วยให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดการเงินต่างๆ ได้
- ให้บริการแพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์ที่สะดวกและปลอดภัย
2. ให้ข้อมูลและคำแนะนำ
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตลาด, การวิเคราะห์หุ้น, แนวโน้มเศรษฐกิจ
- บางโบรกเกอร์มีบริการที่คอยให้ข้อมูลและความรู้ต่างๆให้แก่เหล่าเทรดเดอร์ยกตัวอย่างเช่น
- บทความวิเคราะห์แนวโน้มของสินทรัพย์ในอนาคต
- บทความวิเคราะห์ แนวรับ – แนวต้าน รวมไปถึงจุด TP และ SL
- ข่าวต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อราคา เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย และนโยบายการเงิน
3. ให้บริการเครื่องมือและฟีเจอร์ต่างๆ
- ให้บริการ Margin Trading (การเทรดด้วยเงินกู้) สำหรับผู้ที่ต้องการใช้เลเวอเรจ
- บางโบรกเกอร์มีเครื่องมือช่วยเทรดที่โดดเด่น เช่น
- Copy Trading: คัดลอกการเทรดของมือโปร!
- Auto Trading: ใช้บอทเทรดอัตโนมัติสำหรับคนที่ไม่มีเวลาจับกราฟ
4. จัดการคำสั่งซื้อขาย
- ดำเนินการคำสั่งซื้อขายตามเงื่อนไขของลูกค้า
- มีฟังก์ชัน Stop Loss, Take Profit ช่วยให้เทรดเดอร์ลดความเสี่ยงได้ง่ายขึ้น
- ในกรณีของโบรกเกอร์ Market Maker อาจเป็นคู่สัญญากับนักลงทุนโดยตรง
5. คิดค่าธรรมเนียมและสเปรด
- รายได้หลักของโบรกเกอร์มาจาก ค่าคอมมิชชั่น, ค่าสเปรด, ค่าธรรมเนียมถอนเงิน และค่าธรรมเนียมการใช้เลเวอเรจ
- โบรกเกอร์บางรายมีค่าธรรมเนียมแอบแฝง (ระวังพวกที่คิดค่า Swap สูงเกินไป!)
- ถ้าคิดค่าธรรมเนียมต่ำเกินไป อาจเป็นโบรกเกอร์ที่ไม่น่าไว้ใจ
ประเภทของโบรกเกอร์ในตลาด Forex
ประเภทของโบรกเกอร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ Dealing Desk ที่เก็บคำสั่งของเทรดเดอร์ไว้ในระบบเอง และ No Dealing Desk ที่ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดจริง
1. Dealing Desk – DD
โบรกเกอร์ประเภทนี้ ทำหน้าที่เป็นคู่สัญญากับเทรดเดอร์ โดยไม่ได้ส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดกลางหรือ Liquidity Provider แต่จะเก็บคำสั่งไว้ภายในระบบของตัวเอง อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย
ตัวอย่างโบรกเกอร์ที่ใช้ระบบนี้
2. No Dealing Desk – NDD
โบรกเกอร์ประเภทนี้ เป็นตัวกลางจริงๆ โดยส่งคำสั่งซื้อขายไปยังตลาดกลางผ่าน Liquidity Provider หรือธนาคารโดยตรง ทำให้กราฟราคามีความโปร่งใสมากขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย
ตัวอย่างโบรกเกอร์ที่ใช้ระบบนี้
NDD ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
- ECN (Electronic Communication Network) “เทรดผ่านตลาดกลางโดยตรง”
- คำสั่งซื้อขายของคุณจะถูกส่ง ตรงเข้าสู่ตลาดกลาง (เช่น ธนาคาร, กองทุน, โบรกเกอร์อื่น ๆ) โดยไม่มีการแทรกแซงจากโบรกเกอร์
- ไม่มีการรีโควต (Requote) ทำให้ราคามีความโปร่งใสและอิงกับตลาดจริง
- มี สเปรดต่ำมาก แต่โบรกเกอร์จะคิดค่าคอมมิชชั่นแยก
- เหมาะกับ เทรดเดอร์มืออาชีพ ที่ต้องการความเร็วและความแม่นยำในการเทรด
- อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย
- STP (Straight Through Processing)
- แตกต่างจาก ECN ตรงที่ โบรกเกอร์ STP จะเลือกส่งคำสั่งไปยังผู้ให้ Liquidity Provider หรือผู้ให้สภาพคล่อง เช่น ธนาคาร, Hedge Funds
- ไม่มีการแทรกแซงไม่มีค่าคอมมิชชั่นแยก เพราะต้นทุนรวมอยู่ในสเปรดแล้ว
- Hybrid (ECN + STP) “ผสมผสานข้อดีของทั้งสองระบบ”
- เป็นระบบที่รวมเอาข้อดีของ ECN และ STP เข้าไว้ด้วยกัน
- ถ้าคำสั่งสามารถจับคู่กันได้ในเครือข่าย ECN ก็จะถูกดำเนินการที่นั่น
- ถ้าไม่มีคำสั่งตรงกันในเครือข่าย ECN ระบบจะส่งไปยัง Liquidity Provider ผ่าน STP
- เหมาะสำหรับ เทรดเดอร์ทุกระดับ เพราะมีทั้งความโปร่งใสและความยืดหยุ่น
สรุปความแตกต่างของ No Dealing Desk
โบรกเกอร์ที่ดีเลือกยังไง?
ปัจจัยหลักๆ ในการเลือกโบรเกอร์ที่ดีคือ ต้องมีใบอนุญาต เสถียร ฝ่ายซัพพอร์ตที่ดี ถอนเงินได้ง่าย ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง และรีวิวภาพรวมที่ดี
- ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ✅
- หน่วยงานกำกับดูแลที่มีมาตรฐานสูง เช่น FCA (UK), ASIC (Australia), CySEC (Cyprus), ก.ล.ต. (ไทย) จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโบรกเกอร์เถื่อน
- แพลตฟอร์มต้องเสถียร และมีเครื่องมือเทรดที่ทันสมัย ✅
- รองรับแพลตฟอร์มยอดนิยม เช่น MT4, MT5, cTrader
- มี WebTrader และ Mobile App สำหรับการเทรดผ่านมือถือที่ใช้งานง่าย
- ต้องไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง ✅
- ตรวจสอบค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น Spread, Commission, Swap, ค่าถอนเงิน
- โบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือจะ แจ้งค่าธรรมเนียมล่วงหน้า อย่างโปร่งใส
- ระวังโบรกเกอร์ที่อ้างว่า “ไม่มีค่าธรรมเนียม” เพราะอาจซ่อนต้นทุนไว้ในราคาซื้อขาย
- ต้องถอนเงินได้ง่าย และรวดเร็ว ✅
- รองรับช่องทางฝาก-ถอนที่หลากหลาย เช่น ธนาคาร, E-Wallet, Crypto
- ระยะเวลาถอนเงินต้องเร็ว (ภายใน 24 ชั่วโมงสำหรับโบรกเกอร์ที่ดี)
- ไม่มีเงื่อนไขการถอนที่ยุ่งยาก หรือค่าธรรมเนียมถอนสูงเกินไป
- ต้องมีฝ่ายซัพพอร์ตที่ดี ตลอด 24 ชั่วโมง ✅
- รองรับหลายภาษา (รวมถึงภาษาไทย)
- มีช่องทางการติดต่อที่สะดวก เช่น Live Chat, Email, โทรศัพท์
- ซัพพอร์ตมีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และให้คำแนะนำได้จริง ไม่ใช่แค่ตอบแบบบอท
- รีวิวภาพรวมต้องดี และได้รับการยอมรับจากเทรดเดอร์ ✅
- มีผู้ใช้งานจำนวนมาก และได้รับการแนะนำจากนักลงทุนมืออาชีพ
- เช็กรีวิวต่างๆจากช่องทาง Social ต่างๆ
- ค้นหาข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น Trustpilot
- เช็ก Feed Back จากผู้ใช้จริงเช่น ปัญหาการถอนเงิน, การโกงราคา
บทสรุปสำหรับ โบรกเกอร์
โบรกเกอร์คือ ตัวกลางในการซื้อขายสินทรัพย์ เช่น หุ้น, Forex และคริปโต ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ มีทั้งแบบ Stock Broker, Forex Broker และ Crypto Broker โดยโบรกเกอร์ Forex แบ่งเป็น Dealing Desk (DD) และ No Dealing Desk (NDD) ซึ่งมี ECN, STP การเลือกโบรกเกอร์ที่ดีต้อง มีใบอนุญาต โปร่งใส ฝากถอนง่าย และไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง ควรหลีกเลี่ยงโบรกเกอร์เถื่อนเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- https://forexschoolonline.com/dealing-desk-vs-no-dealing-desk-forex-brokers/
- https://www.investopedia.com/terms/e/ecn.asp
- https://www.investopedia.com/terms/s/straightthroughprocessing.asp
- https://www.investopedia.com/terms/d/dealing-desk.asp
- https://www.investopedia.com/terms/n/no-dealing-desk.asp
- https://www.dailyforex.com/learn/how-to-choose-a-broker-guide